ภารกิจงานเอดส์ วัณโรค สสจ.กจ.

ภารกิจ ของงานเอดส์ วัณโรค โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และโรคเรื้อน
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาญจนบุรี
นายวิจารณ์ นามสุวรรณ ตำแหน่ง นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการพิเศษ
******************************

1. อัตรากำลัง งานเอดส์ วัณโรค โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และโรคเรื้อน มีจำนวน 7
2. ภารกิจที่ได้รับมอบหมาย มีดังนี้
2.1 งานป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์
2.1.1 ดำเนินการตามเป้าหมาย Getting To Zero ได้แก่ 1.ลดอัตราการติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่โดยให้ความรู้และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวี
2.1.2 พัฒนากลไกการป้องกันเอดส์ที่
2.1.3 เฝ้าระวังโรคเอดส์
2.1.4 พัฒนาและส่งเสริมการบริหารจัดการกองทุนเอดส์และวัณโรค
2.1.5 พัฒนาคุณภาพระบบบริการดูแลรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์ ตามโปรแกรม HIVQUAL-T
2.1.6 สนับสนุนและส่งเสริมให้หน่วยบริการใช้ดูแลรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์ให้มีคุณภาพและได้มาตรฐาน
2.1.7 ควบคุม กำกับการดำเนินโครงการแก้ไขปัญหาเอดส์ขององค์กรเอกชนและกลุ่มผู้ติดเชื้อ จำนวน 10 โครงการ
2.1.7 นิเทศ ควบคุม กำกับ สถานบริการ (รพท. รพช. รพ.สต.) ในการดำเนินงานเพื่อให้บรรลุตามตัวชี้วัดงานเอดส์
2.2 งานควบคุมและป้องกันวัณโรค
2.2.1 สร้างความเข้มแข็งในการดำเนินงานตามมาตรฐานแนวทางควบคุมวัณโรคแห่งชาติโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนและองค์กรที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน
2.2.2 พัฒนากลไกความร่วมมือในการดำเนินงานควบคุมป้องกันวัณโรคในประชากรกลุ่มเสี่ยงพิเศษและพื้นที่ชายแดน
2.2.3 เฝ้าระวังป้องกันและควบคุมวัณโรคดื้อยาหลายขนาน (MDR-TB, XDR-TB)
2.2.4 พัฒนากลไกการประสานงานความร่วมมือระหว่างงานควบคุมวัณโรคและงานควบคุมโรคเอดส์ในทุกระดับเพื่อให้การดำเนินงานผสมผสานงานเอดส์และวัณโรคมีประสิทธิภาพ
2.2.5 พัฒนาศักยภาพบุคลากรผู้รับผิดชอบงานควบคุมและป้องกันวัณโรค
2.2.6 พัฒนาและส่งเสริมการบริหารจัดการกองทุนเอดส์และวัณโรค
2.2.7 ส่งเสริมให้ประชาชนและกลุ่มเสี่ยงเข้าถึงข้อมูลด้านวัณโรค
2.1.8 นิเทศ ควบคุม กำกับ สถานบริการ (รพท. รพช. รพ.สต.) ในการดำเนินงานเพื่อให้บรรลุตามตัวชี้วัดงานวัณโรค
2.3 งานควบคุมและป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
2.3.1 ส่งเสริมเฝ้าระวังและป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
2.3.2 ควบคุมแหล่งแพร่และผู้ให้บริการทางเพศ
2.3.3 สำรวจสถานบริการและผู้ให้บริการทางเพศ
2.3.4 รณรงค์ประชาสัมพันธ์และส่งเสริมการใช้ถุงยางอนามัย
2.3.5 จัดบริการคลินิกโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์เพื่อรองรับกิจกรรมโครงการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีในกลุ่มที่เข้าถึงยาก (MARPs) ได้แก่ กลุ่มผู้ให้บริการทางเพศ
2.3.5.1 ชันสูตรโรค ตรวจรักษา ติดตามผู้ป่วยและผู้สัมผัสโรค
2.3.2.2 ให้สุขศึกษาและให้คำปรึกษาทางการแพทย์และสังคม
2.4 งานควบคุมและป้องกันโรคเรื้อน
2.4.1 ส่งเสริมประชาชนในพื้นที่สัมผัสโรคให้มีความรู้เรื่องโรคเรื้อน
2.4.2 ส่งเสริมให้ผู้ป่วยสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารและบริการด้านการป้องกันความพิการและการฟื้นฟูสภาพ
2.4.3 พัฒนาศักยภาพให้บุคลากรสาธารณสุขระดับตำบลที่มีผู้ป่วยในความรับผิดชอบสามารถให้บริการป้องกันความพิการและฟื้นฟูสภาพขั้นพื้นฐานได้
2.4.4 ส่งเสริม พัฒนาให้ผู้ป่วยและสมาชิกในครอบครัวมีความรู้ ทักษะ สามารถดูแลตนเองในด้านการป้องกันความพิการและฟื้นฟูสภาพอย่างยั่งยืน
2.4.5 ประสานการส่งต่อข้อมูลและผู้ป่วยเพื่อรับการรักษา ฟื้นฟู และสงเคราะห์ตามความเหมาะสม
3. แผนงาน/โครงการ ปี 2555
3.1 โครงการที่ได้รับงบประมาณจาก สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
3.1.1 โครงการส่งเสริมประสิทธิภาพการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์
3.1.2 โครงการส่งเสริมประสิทธิภาพการดำเนินงานควบคุมป้องกันวัณโรค
3.1.3 โครงการควบคุมและป้องกันโรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ในกลุ่มผู้ให้บริการทางเพศ ปีงบประมาณ 2555
3.1.4 โครงการควบคุมป้องกันโรคเรื้อน ปีงบประมาณ 2555
3.1.5 โครงการเร่งรัดคัดกรองวัณโรค ปีงบประมาณ 2555
3.2 โครงการที่ได้รับงบประมาณจากกองทุนโลก
3.2.1 โครงการพัฒนากลไกการประสานงานป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี จังหวัดกาญจนบุรี (Provincial Co-ordinating Mechanism : PCM)
3.2.2 โครงการ “การเสริมสร้างความเข้มแข็งการควบคุมวัณโรคอย่างมีคุณภาพในกลุ่มประชากรด้อยโอกาสและการเสริมสร้างพลังชุมชนเพื่องานวัณโรคในจังหวัดกาญจนบุรี
3.3 โครงการที่ได้รับงบประมาณจากสำนักโรคเอดส์ วัณโรค โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
3.3.1 โครงการพัฒนาคุณภาพบริการการดูแลรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ผู้ใหญ่และเด็กในประเทศไทย ปีงบประมาณ 2553 จังหวัดกาญจนบุรี
3.4 โครงการที่ได้รับงบประมาณจากกองทุนเอดส์และวัณโรค สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.แจ้ง รับหนังสือ 11 ม.ค.55)
๓.๔.๑ โครงการส่งเสริมประสิทธิภาพระบบบริหารจัดการและการบริการผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ ภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า จังหวัดกาญจนบุรี ปี 2555

บทความลง นสพ.ฉบับที่1

                              เปิดเวทีเป็นปฐมฤกษ์สำหรับทุกท่าน เปิดโลกทัศน์และเรียนรู้โรคกับภัยที่คุกตามต่อสุขภาพของเรา บางสิ่งบางอย่างถ้าใส่ใจเรียนรู้ ทำความเข้าใจกับมันซักนิด ก็จะสามารถลดความสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินอย่างไม่ยากเย็นนัก เช่นโรคภัยที่ส่งผลต่อสุขภาพของเราอย่างโรคเอดส์ ส่วนใหญ่ท่านเคยได้ยินได้ฟังมามากแล้ว นึกว่าเข้าใจมันดี แต่ถามใจตัวเองจริงๆ ดูว่า เรารู้กว้างรู้สึกเกี่ยวกับเรื่องนี้ขนาดไหน รู้ทันโรคขนาดไหน เราเสี่ยงต่อการติดเชื้อขนาดไหน จากการวิจัยพบว่า บางคนรู้แบบผิวเผิน และก็นึกว่าตัวเองรู้แล้ว แถมยังไม่อยากพูดถึงอีกต่างหาก บางคนมีความรู้จริงแต่ไม่สามารถจัดการตัวเองให้ตัวเองรู้จักวิธีป้องกันได้ จนกระทั่งพาตัวไปติดเชื้อมาโดยไม่ตั้งใจ ซึ่งเป็นสิ่งที่น่าเสียดาย  คอลัมน์นี้ ท่านจะได้ทราบว่า สถานการณ์เอดส์เป็นอย่างไร เอดส์คืออะไร ติดต่อและป้องกันอย่างไร ใครมีโอกาสเสี่ยง ผลกระทบที่เกิดจากการเป็นโรคเอดส์มีอะไรบ้าง รวมถึงการจัดการตัวเองเมื่อพบว่าตัวเองติดเชื้อไปแล้ว  ลองติดตามข้อมูลไปเรื่อยๆ นะครับ
          กว่า 30 ปี ที่พบโรคเอดส์เกิดขึ้นในโลก เราได้ต่อสู้และพยายามแก้ไขปัญหานี้ แต่ยังไม่สำเร็จ เราพบผู้ป่วยโรคเอดส์เกิดขึ้นในโลก กว่า 45 ล้านคนทั่วภูมิภาคของโลก เกิดผลกระทบและการสูญเสียมากมายสำหรับประเทศไทย พบผู้ป่วยกว่าห้าแสนคน นี่ยังไม่นับผู้ที่ติดเชื้ออีกกว่าแปดแสนคน และที่ยังไม่ตรวจอีกเป็นจำนวนมาก สำหรับจังหวัดกาญจนบุรี พบผู้ป่วยเอดส์ 5,400 ราย ไม่รวมผู้ติดเชื้อในร่างกายแต่ยังไม่เคยตรวจ ฉะนั้นเอดส์คงไม่ห่างจากตัวเรามากนักหรอก ถ้ายังไม่รู้ทันคงจะเข้าสู่ครอบครัวเราแน่
          โรคเอดส์เกิดจากเชื้อไวรัสเอชไอวี เป็นจุลชีพขนาดเล็กมองด้วยตาเปล่าไม่เห็น ก่อให้เกิดโรคเอดส์และทำให้เสียชีวิต เชื้อนี้จะแพร่กระจายผ่านทางเลือด น้ำอสุจิ น้ำนมแม่ และสารคัดหลั่งในช่องคลอด  โชคดีที่เชื้อเอชไอวี ไม่สามารถแพร่ระบาดได้ง่ายเหมือนเชื้อไข้หวัดใหญ่ และการแพร่ระบาดก็ยังป้องกันได้
           เอชไอวี(HIV) มีชื่อเต็มว่า Human Immunodeficiency Virus ซึ่งทำให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายอ่อนแอลง ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทำหน้าที่ต่อต้านโรค ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายประกอบด้วย สิ่งต่าง ๆ หลายชนิด เช่น เม็ดเลือดขาวชนิด CD4 ซึ่งเชื้อเอชไอวีจะเข้าโจมตีระบบภูมิคุ้มกันโดยการทำลาย CD4 ซึ่งมีหน้าที่ในการกำจัดเชื้อโรคที่เข้ามาในร่างกาย เมื่อเวลาผ่านไป เชื้อเอชไอวีจะค่อย ๆ ทำลายระบบภูมิคุ้มกันไปเรื่อย ๆ จนในที่สุด ภูมิคุ้มกันของร่างกายก็ไม่สามารถทำหน้าที่ได้ตามปกติ ในที่สุดเชื้อโรคที่ไม่เคยทำให้เกิดความเจ็บป่วยได้ ก็ก่อให้เกิดโรคต่าง ๆ ได้ ผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่ระบบภูมิคุ้มกันเสื่อม จะเสียชีวิตจากโรคแทรกซ้อนหลายชนิดได้ ในระหว่างที่ภูมิคุ้มกันค่อย ๆ ถูกทำลาย ซึ่งอาจใช้เวลาหลายปี ผู้ติดเชื้ออาจไม่แสดงอาการเจ็บป่วยใด ๆ แต่สามารถแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นได้
          ส่วนที่เราเรียกว่าเอดส์หรือ AIDS ย่อมาจาก Acquired Immune Deficiency Syndrome ก็คือกลุ่มอาการที่เกิดจากภูมิคุ้มกันบกพร่อง กลุ่มอาการเป็นคำรวมที่หมายถึงกลุ่มของอาการหรือการเจ็บป่วยที่ปรากฏร่วมกัน  ที่เกิดขึ้นจากการที่ภูมิคุ้มกันถูกทำลายลงอย่างมาก จน CD4 เหลือน้อยมาก ร่างกายก็จะไม่สามารถต่อสู้กับโรคฉวยโอกาสบางชนิด และเนื้องอกต่าง ๆ ได้  ผู้ป่วยในระยะนี้จึงมีความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยต่าง ๆ เช่น วัณโรค ปอดอักเสบ และมะเร็งชนิดต่าง ๆ  ผู้ป่วยจะมีอาการแตกต่างกันตามแต่ชนิดของโรคฉวยโอกาสที่เกิดขึ้น ซึ่งไม่เหมือนกับผู้ป่วยโรคอื่น ๆ ที่มักจะมีอาการเหมือน ๆ กันทุกราย ด้วยเหตุนี้เอง เราจึงไม่สามารถให้การวินิจฉัยโรคเอดส์จากอาการใดอาการหนึ่งได้ ต้องอาศัยการตรวจจากแพทย์เท่านั้น เราไม่สามารถบอกได้ว่าใครติดเชื้อเอชไอวี โดยจากอาการดูภายนอกได้ เพราะผู้ติดเชื้ออาจไม่แสดงอาการใด ๆ เป็นระยะเวลานาน ซึ่งระยะนี้เราเรียกว่าเป็นระยะที่ไม่แสดงอาการ เมื่อมีการทำลายระบบภูมิคุ้มกันมากขึ้นเรื่อย ๆ ผู้ติดเชื้อจึงอาจเริ่มแสดงอาการที่สัมพันธ์กับเอดส์ เมื่อมีอาการดังกล่าวมากขึ้นสักระยะหนึ่งก็จะเข้าสู่ระยะแสดงอาการของโรคเอดส์เต็มขั้น ในระยะนี้หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องเหมาะสมก็อาจเสียชีวิตจากโรคเอดส์ได้ในที่สุด
          ผู้ติดเชื้อเอชไอวีมักจะมีชีวิตอยู่เป็นปกติโดยไม่รู้ว่าตนเองติดเชื้อดังกล่าว ดังนั้นเขาจึงอาจแพร่เชื้อสู่ผู้อื่นได้โดยไม่รู้ตัว นอกจากนั้น เชื้อเอชไอวียังสามารถทำให้ผู้ที่ติดเชื้อมีโอกาสติดเชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่น ๆ ได้ง่ายขึ้น  และการที่ผู้ติดเชื้อจะเริ่มเป็นเอดส์เต็มขั้นนั้น ขึ้นอยู่กับสุขภาพของแต่ละคน ทั้งสุขภาพกาย สุขภาพจิตและปัจจัยอื่น ๆ เช่น การดูแลตัวเอง การพักผ่อน การออกกำลังกาย การรับประทานอาหารที่ถูกต้อง และสภาพจิตใจที่เข้มแข็ง ซึ่งระยะเวลาในช่วงนี้อาจยาวนานได้ตั้งแต่ 3 10 ปีหลังจากติดเชื้อ (ส่วนใหญ่จะอยู่ที่ 9 -10 ปี) และจากการที่ผู้ติดเชื้อได้รับการดูแลทางการแพทย์และได้รับยาต้านไวรัสมากขึ้น จะทำให้ผู้ติดเชื้อ/ผู้ป่วยเอดส์มีชีวิตอยู่อย่างปกติสุขยาวนานถึง 20 ปี หรือมากกว่านั้นก็ได้
          ผู้ที่จะติดเชื้อเอชไอวีได้ คือผู้ที่มีพฤติกรรมเสี่ยงหรือได้ไปสัมผัสกับเชื้อเอชไอวีมาสามารถติดเชื้อได้ทั้งสิ้น คนทั่วไปมักคิดว่าคนที่อ้วนท้วนสมบูรณ์ คนที่มีสุขภาพดี หรือคนที่อยู่ในสังคมชั้นสูง ไม่ติดเชื้อเอชไอวี ความเชื่อนี้ไม่เป็นความจริง เชื้อเอชไอวีแพร่กระจายทางพฤติกรรมเสี่ยง ดังนั้นใครก็ตามที่มีพฤติกรรมเสี่ยงและมีโอกาสสัมผัสกับเชื้อไม่ว่าจะมีชั้นวรรณะ รูปร่าง อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ หรือเชื้อชาติเป็นเช่นใดก็ติดเชื้อได้ทั้งนั้น ยกเว้นทารกซึ่งมีโอกาสติดเชื้อจากแม่ได้โดยที่ตัวเองไม่ได้ทำพฤติกรรมเสี่ยง      ฉบับหน้า ท่านจะได้ทราบ แหล่งที่อยู่ของเชื้อเอชไอวี การแพร่กระจายเชื้อ และการป้องกันการติดเชื้อ ติดตามเราไปเรื่อย ๆ นะครับ
                                                                                 สวัสดี
                                                  วิจารณ์ นามสุวรรณ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาญจนบุรี
         

บทบาทหน้าที่งานเอดส์ วัณโรค ฯ

บทบาทหน้าที่ของ งานเอดส์ วัณโรค โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และโรคเรื้อน
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาญจนบุรี  โทร. 0 3451 5344
*****************************************************

               1.  งานป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์
1.1 ดำเนินการตามเป้าหมาย Getting To Zero ได้แก่
        1. ลดอัตราการติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่  โดยให้ความรู้และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวี  เน้นกลุ่มเป้าหมายหลัก 7 กลุ่ม ได้แก่ เยาวชน แรงงานในโรงงาน  แรงงานต่างด้าว  ผู้ใช้สารเสพติด  พนักงานบริการ  และผู้มีความหลากหลายทางเพศ (MSM) และผู้ติดเชื้อ/ผู้ป่วย
        2. ลดการตายด้วยโรคเอดส์
        3. ลดการเลือกปฏิบัติ การรังเกียจและแบ่งแยกผู้ป่วย การละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐาน
1.2 พัฒนากลไกการป้องกันเอดส์ที่ยั่งยืน  ได้แก่ กลไกการจัดทำยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการ
ป้องกันเอดส์  กลไกการสร้างเครือข่ายความร่วมมือจากทุกภาคส่วน  กลไกการมีและใช้ข้อมูล
และวิชาการด้านเอดส์  เป็นต้น)
1.3 เฝ้าระวังโรคเอดส์
         1. เฝ้าระวังพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวี(BSS) ในกลุ่มเป้าหมาย 7 กลุ่ม
         2. เฝ้าระวังการติดเชื้อเอชไอวีเฉพาะพื้นที่และโรคซิฟิลิส ในกลุ่มเป้าหมาย 5 กลุ่ม
         3. เฝ้าระวังการป่วยและตายด้วยโรคเอดส์ (บัตร รง. 506/1 รง.507/1)
1.4 พัฒนาและส่งเสริมการบริหารจัดการกองทุนเอดส์และวัณโรค
1.5 พัฒนาคุณภาพระบบบริการดูแลรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์  ตามโปรแกรม   
      HIVQUAL-T
1.6 สนับสนุนและส่งเสริมให้หน่วยบริการใช้มาตรฐานการดูแลรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วย
      เอดส์ตามแนวทางการตรวจวินิจฉัยและการดูแลรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์
      ระดับชาติ ปี พ.ศ. ๒๕๕๓  นโยบายและแนวทางการดำเนินงานป้องกันการถ่ายทอดเชื้อ
      เอชไอวีจากแม่สู่ลูกสำหรับประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๕๔  โครงการให้บริการยาต้านไวรัส
      สำหรับผู้ติดเชื้อ/ผู้ป่วยเอดส์ภายใต้การสนับสนุนจากกองทุนโลก (NAPHA EXTENSION)
1.7 ควบคุม กำกับการดำเนินโครงการแก้ไขปัญหาเอดส์ขององค์กรเอกชนและกลุ่มผู้ติดเชื้อ 
      จำนวน 10 โครงการ
1.7 นิเทศ ควบคุม กำกับ สถานบริการ (รพท. รพช. รพ.สต.) ในการดำเนินงานเพื่อให้บรรลุ
      ตามตัวชี้วัดงานเอดส์
                2.  งานควบคุมและป้องกันวัณโรค
                     2.1 สร้างความเข้มแข็งในการดำเนินงานตามมาตรฐานแนวทางควบคุมวัณโรคแห่งชาติโดย
                           การมีส่วนร่วมของชุมชนและองค์กรที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน
                     2.2 พัฒนากลไกความร่วมมือในการดำเนินงานควบคุมป้องกันวัณโรคในประชากรกลุ่มเสี่ยงพิเศษ
                           และพื้นที่ชายแดน
                     2.3 เฝ้าระวังป้องกันและควบคุมวัณโรคดื้อยาหลายขนาน (MDR-TB, XDR-TB)
                     2.4 พัฒนากลไกการประสานงานความร่วมมือระหว่างงานควบคุมวัณโรคและงานควบคุมโรค
                           เอดส์ในทุกระดับเพื่อให้การดำเนินงานผสมผสานงานเอดส์และวัณโรคให้มีประสิทธิภาพ
                     2.5 พัฒนาศักยภาพบุคลากรผู้รับผิดชอบงานควบคุมและป้องกันวัณโรคในทุกระดับ
                     2.6 พัฒนาและส่งเสริมการบริหารจัดการกองทุนเอดส์และวัณโรคของ สปสช.
                     2.7 ส่งเสริมให้ประชาชนและกลุ่มเสี่ยงเข้าถึงข้อมูลด้านวัณโร
                     2.8 นิเทศ ควบคุม กำกับ สถานบริการ (รพท. รพช. รพ.สต.) ในการดำเนินงานเพื่อให้บรรลุ
       ตามตัวชี้วัดงานวัณโรค
                 3. งานควบคุมและป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
                     3.1 ส่งเสริมเฝ้าระวังและป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
                     3.2 ควบคุมแหล่งแพร่และผู้ให้บริการทางเพศ
                     3.3 สำรวจสถานบริการและผู้ให้บริการทางเพศ
                     3.4 รณรงค์ประชาสัมพันธ์และส่งเสริมการใช้ถุงยางอนามัย
                     3.5 จัดบริการคลินิกโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์เพื่อรองรับกิจกรรมโครงการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีในกลุ่มที่
                           เข้าถึงยาก (MARPs) ได้แก่ กลุ่มผู้ให้บริการทางเพศ
                           3.5.1 ชันสูตรโรค ตรวจรักษา  ติดตามผู้ป่วยและผู้สัมผัสโรค
                           3.2.2 ให้สุขศึกษาและให้คำปรึกษาทางการแพทย์และสังคม
                 4. งานควบคุมและป้องกันโรคเรื้อน
                      4.1  ส่งเสริมประชาชนในพื้นที่สัมผัสโรคให้มีความรู้เรื่องโรคเรื้อน
                      4.2  ส่งเสริมให้ผู้ป่วยสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารและบริการด้านการป้องกันความพิการและการฟื้นฟูสภาพ
                      4.3  พัฒนาศักยภาพให้บุคลากรสาธารณสุขระดับตำบลที่มีผู้ป่วยในความรับผิดชอบ
                             สามารถให้บริการป้องกันความพิการและฟื้นฟูสภาพขั้นพื้นฐานได้
                      4.4  ส่งเสริม  พัฒนาให้ผู้ป่วยและสมาชิกในครอบครัวมีความรู้ ทักษะ สามารถดูแลตนเอง
                             ในด้านการป้องกันความพิการและฟื้นฟูสภาพอย่างยั่งยืน
                      4.5  ประสานการส่งต่อข้อมูลและผู้ป่วยเพื่อรับการรักษา  ฟื้นฟู  และสงเคราะห์ตาม
                                    ความเหมาะสม
                   5.  แผนงาน/โครงการที่รับผิดชอบ ปี 2555
                         5.1 โครงการที่ได้รับงบประมาณจาก  สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
                              5.1.1  โครงการส่งเสริมประสิทธิภาพการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์
                              5.1.2  โครงการส่งเสริมประสิทธิภาพการดำเนินงานควบคุมป้องกันวัณโรค
                              5.1.3  โครงการควบคุมและป้องกันโรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ในกลุ่มผู้ให้บริการ
                                          ทางเพศ ปีงบประมาณ 2555
                              5.1.4  โครงการควบคุมป้องกันโรคเรื้อน ปีงบประมาณ 2555
                                5.1.5  โครงการเร่งรัดคัดกรองวัณโรค ปีงบประมาณ 2555
                         5.2  โครงการที่ได้รับงบประมาณจากกองทุนโลก
                              5.2.1  โครงการพัฒนากลไกการประสานงานป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี  จังหวัด
                                      กาญจนบุรี (Provincial  Co-ordinating  Mechanism : PCM)
                              5.2.2  โครงการ “การเสริมสร้างความเข้มแข็งการควบคุมวัณโรคอย่างมีคุณภาพ
                                      ในกลุ่มประชากรด้อยโอกาสและการเสริมสร้างพลังชุมชนเพื่องานวัณโรค
                                      ในจังหวัดกาญจนบุรี
                          5.3  โครงการที่ได้รับงบประมาณจากสำนักโรคเอดส์  วัณโรค  โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
                              5.3.1  โครงการพัฒนาคุณภาพบริการการดูแลรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ผู้ใหญ่และ
                                      เด็กในประเทศไทย  ปีงบประมาณ 2553  จังหวัดกาญจนบุรี
                          5.4 โครงการที่ได้รับงบประมาณจากกองทุนเอดส์และวัณโรค สำนักงานหลักประกันสุขภาพ
                                 แห่งชาติ (สปสช.แจ้ง รับหนังสือ 11 ม.ค.55)
                                 ๕.๔.๑ โครงการส่งเสริมประสิทธิภาพระบบบริหารจัดการและการบริการผู้ติดเชื้อ
                                          เอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ ภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า จังหวัด
                                          กาญจนบุรี ปี 2555  


                                                 *******************************************